PhaFu Co.,Ltd.  บริหารจัดการกากอุตสาหกรรม / วัสดุเหลือใช้ / รีไซเคิล / ของเสียอันตราย / อื่นๆ

การกำจัดหรือบำบัดของเสียอันตรายเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ก่อกำเนิดต้องตระหนัก เพราะหากกำจัดหรือบำบัดไม่ถูกวิธี หรือไม่เหมาะสมกับของเสียอันตรายชนิด นั้นๆ จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ ได้ศึกษาและตรวจสอบข้อ ร้องเรียนของประชาชน พบว่า ขณะนี้มีพื้นที่เสี่ยงที่ลักลอบทิ้งกากหรือของเสียอุตสาหกรรมมากถึง 25 จังหวัดทั่วประเทศ โดยจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดที่เกิดปัญหารุนแรงมากที่สุด รองลงมาคือ ชลบุรี ระยอง ปราจีนบุรี และสมุทรปราการ ตามลําดับ

การลักลอบทิ้งกากของเสียแทนที่จะกำจัดหรือบำบัดในระบบเนื่องมาจากค่าใช้ จ่ายในการกำจัดหรือบำบัดราคาสูง ประกอบกับจำนวนโรงงานรับกำจัดมีไม่เพียงพอกับปริมาณของเสียอันตรายที่เกิดขึ้น

วิธีบริหารจัดการของเสียในปัจจุบัน

  1. การบำบัดด้วยกระบวนการทางกายภาพและเคมีการบำบัด(Treatment) 
  2. การบำบัดด้วยกระบวนการทางชีวภาพ
  3. การปรับเสถียร (stabilization/solidification)
  4. การฝังกลบอย่างปลอดภัย (secure landfill)
  5. การเผาทำลาย
  6. การเผาเพื่อเอาพลังงาน
  7. การปรับปรุงคุณภาพของเสียเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง
  8. การคืนสภาพของเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
  9. การนำไปทำสารปรับปรุงดิน
  10. อื่นๆ

จากการเปิดเผยข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) พบว่า“ขณะนี้ปัญหาการทิ้งขยะที่เป็นกากขยะอันตรายและกากของเสียที่ไม่อันตรายมีการระบาดแพร่หลาย รวมถึงเกิดบ่อบำบัดขยะมีพิษเถื่อนเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ทำให้ล่าสุด ต้องสำรวจข้อมูลว่าปัจจุบันมีโรงงานทั่วประเทศอยู่กี่แห่งและมีปริมาณขยะที่ออกจากโรงงานในปริมาณกี่ตันต่อปี

โรงงานจำนวน (โรงงาน)หมายเหตุ
โรงงานประเภท 14X,XXXสามารถดำเนินกิจการได้เลย โดยไม่ต้องมาขออนุญาตจากกรอ.
โรงงานประเภท 22X,XXXโรงงานที่ก่อนจะประกอบกิจการจะต้องมาแจ้ง แต่ไม่ต้องขอใบอนุญาตตั้งโรงงาน
โรงงานประเภท 37X,XXXเป็นโรงงานที่จะต้องมาขอใบอนุญาตตั้งโรงงานหรือใบรง.4
รวม14X,XXX

จากข้อมูลดังกล่าวทำให้กรอ.โฟกัสมาที่โรงงานประเภทที่ 3 โดยเบื้องต้นเลือกโรงงานที่มีของเสียอันตราย และของเสียที่ต้องควบคุมออกมาจำนวน 20 ประเภท เช่น กากของเสียที่เป็นโลหะ กากของเสียที่เป็นสารเคมี กากของเสียที่มีส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิง และกากของเสียที่มีกรด รวมถึงขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยพบว่าในจำนวนนี้มีโรงงานที่มีของเสียอันตรายอยู่ราว 1.6 หมื่นโรงงาน จากข้อมูลทำให้กรอ.พบว่ามีใบขนย้ายกากทั้ง 2 ชนิดออกจากโรงงานไม่ตรงกับกากจริงที่ออกจากโรงงาน โดยกากขยะทั้ง 2 ชนิดหายไปจากระบบข้อมูลรวมกันทั้งสิ้น 31.40 ล้านตัน


Visitors: 1